ลักษณะของห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนจะมีต้องมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงใจมาเข้ากันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน
โดยประสงค์จะแบ่งผลกำไรที่พึงได้จากกิจกรรมที่ทำนั้น ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรียกว่า “ห้างหุ้นส่วน” การเป็นห้างหุ้นส่วนกฎหมายไม่บังคับให้จะทะเบียน จะจดหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ ถ้าไม่จดทะเบียนเรียกว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” แต่ถ้าจดทะเบียนกับนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเรียกวา
“ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” หรือ “ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน”
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ
เป็นความสมัครใจของบุคคลที่มาร่วมกันเพื่อทำธุรกิจส่วนมากจะเป็นการดำเนินธุรกิจขนาดเล็กและภายในครอบครัว
การจัดตั้งมีหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1012 ดังนี้
1. เป็นสัญญาระหว่างบุคคลสองคนขึ้นไป
จะเป็นหญิงหรือชายก็และบุคคลที่จะเข้ามาร่วมทำสัญญาต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถเข้าทำสัญญาได้ตามกฏหมาย
คือ บรรลุนิติภาวะแล้วหรืออายุยังไม่ถึง 20 ปี
แต่บรรลุนิติภาวะโดยการ
สมรสและไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถดังนั้น สามี ภริยา ก็อาจดำเนินธุรกิจเป็นหุ้นส่วนกันได้
2. เป็นการตกลงเพื่อทำกิจการร่วมกัน ทำกิจการร่วมกัน หมายถึง
มีการตกลงได้เสียร่วมกันกิจการที่ทำอาจเป็นธุรกิจค้าขาย ธุรกิจการเกษตร ธุรกิจอุตสาหกรรม หรือธุรกิจในครอบครัวก็ได้ 3. ต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้น อันได้แก่ เงินตรา ทรัพย์สิน หรือลงด้วยแรงงานก็ได้(ป.พ.พ.มาตรา
1026)จึงเห็นได้ว่า
หุ้นหรือทุนที่จะนำมาลงมีได้ 3 ประการ
คือ
3.1 ลงหุ้นด้วยเงินตรา คือ นำเงินมาลงหุ้นจริง ๆ
ซึ่งอาจไม่คิดเป็นจำนวนหุ้นแต่อาจบอกเป็นยอดจำนวนเงิน เท่าไรก็ได้
3.2 ลงหุ้นด้วยทรัพย์สินอื่น คำว่า ทรัพย์สินอาจเป็นที่ดิน เครื่องจักรกล
รถยนต์ อาคารสำนักงาน เป็นต้น
แล้วตีราคาทรัพย์สินนั้นเป็นจำนวนเงินก็ได้
การลงหุ้นด้วยวิธีนี้อาจนำทรัพย์สินมาในลักษณะยกให้เป็นของห้างหรือให้ใช้ระหว่างที่เป็นผู้ถือหุ้นของห้างอยู่ก็ได้
3.3 ลงหุ้นด้วยแรงงาน แรงงานอาจเป็นแรงกาย หรือใช้สมอง คือ ความคิดก็ได้
ค่าแรงควรตีราคากันไว้ก่อนล่วงหน้า
เพื่อผลในการคำนวณกำไรที่จะแบ่งปันกัน
แต่ถ้ามิได้ตีราคาค่าแรงไว้
ก็ถือว่าได้เท่ากันกับผู้ลงหุ้นด้วยเงินตราหรือทรัพย์สิน(ป.พ.พ.มาตรา 1028) 4. มีวัตถุประสงค์เพื่อนำกำไรจากกิจการนั้นมาแบ่งปันกัน กล่าวคือ
ผู้ที่มาทำสัญญาตกลงทำกิจการร่วมกันต้องมีจุด
ประสงค์หรือวัตถุประสงค์หวังผลกำไรและ
นำกำไรจากกิจการที่ทำนั้นมาแบ่งปันตามสัดส่วนที่ลงหุ้นถ้าขาดทุนก้ต้องขาดทุนร่วมกัน
หากไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันกำไรก็จะไม่ใช่ห้างหุ้นส่วน 5. แบบแห่งสัญญา
ไม่มีกฎหมายบังคับเรื่องแบบแห่งสัญญา ฉะนั้น สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
จะทำเป็นหนังสือหรือไม่ทำก็ได้
หรือตกลงกันด้วยวาจาก็ได้
และไม่ต้องมีการจดทะเบียน 6.ไม่เป็นนิติบุคคล
มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา หุ้นส่วนทุกคนคงเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา
โดยสรุป ห้างหุ้นส่วนสามัญ ก็คือบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำสัญญา
นำเงินทรัพย์สิน
หรือแรงานมาลงทุนเพื่อทำกิจการร่วมกันโดยประสงค์จะแบ่งปันกำไรจากกิจการที่ทำนั้นโดยไม่ต้องจดทะเบียนห้าง และไม่เป็นนิติบุคคล
การดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนสามัญ
การดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนสามัญ หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนดำเนินการการจัดการห้าง
มีสิทธิหน้าที่ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนรวมทั้งมีความรับผิดต่อบุคคลภายนอกร่วมกัน
แยกได้ดังนี้
1.การจัดการห้าง
การจัดการห้าง หมายถึง
ผู้เป็นหุ้นส่วนต่างก็มีหน้าที่ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ซึ่งหลักกฎหมายวางไว้ว่าการจัดการห้างหุ้นส่วน
ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคน
โดยให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนเป็น “ผู้จัดการ"ทุกคนและถ้ามีการตกลงให้ผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้จัดการห้าง
ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่ได้เป็นผู้จัดการห้างย่อมมี
สิทธิที่จะไต่ถามถึงการทำงานของห้างหุ้นส่วนที่จัดการอยู่นั้นได้ทุกเมื่อ เรียกว่า
“การดูแลครอบงำการจัดการห้างหุ้นส่วน
สามัญ”
ดังนั้น การจัดการห้างหุ้นส่วนสามัญ
จึงอาจเป็นการร่วมกันทำงานทั้งหมดหรือแบ่งงานกันทำ อาจมีได้ 3 ลักษณะ คือ
1.1 การจัดการโดยตรง คือหุ้นส่วนเข้ามาบริหารร่วมกันทุกคน
เป็นผู้จัดการทุกคน อาจแบ่งหน้าที่กันทำงาน เช่น
คนหนึ่งทำหน้าที่ดูแลจัดระเบียบสำนักงาน อีกคนหนึ่งติดต่อลูกค้า ตลาดการค้า หรืออีกคนหนึ่งบริการรับและส่งสินค้า เป็นต้น
แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดจะเข้าทำสัญญาอันใด
ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้ (ป.พ.พ.มาตรา 1033)
1.2
จัดการโดยเสียงข้างมาก
ถ้าได้ตกลงกันไว้ว่าการจัดการงานของห้างให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้น ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งมีเสียงเป็นคะแนนหนึ่งเสียงโดยไม่ต้องคำนึงจำนวนหุ้นที่ลงไว้
มากหรือน้อยเพียงใด (ป.พ.พ.มาตรา 1034)
1.3 การดูแลครอบงำการจัดการ
คือ มีการจัดตั้งหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง
เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแต่ผู้เดียวบุคคลที่เหลือไม่ใช่ผู้จัดการแต่ย่อมมีสิทธิที่จะตรวจคัดสำเนาสมุดบัญชี
และเอกสารใด ๆ ของห้างหุ้นส่วนได้
สิทธิอันนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า”สิทธิการดูแลครอบงำการจัดการห้างหุ้นส่วนสามัญ” (ป.พ.พ.มาตรา 1037)
บริษัทจำกัด
บริษัทมหาชน
บริษัทมหาชน
คือ บริษัทจำกัด ซึ่งตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. บริษัทมหาชน พ.ศ. 2535
โดยมีข้อกำหนดให้บริษัทซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว
สามารถนำหุ้นจำนวนหนึ่งของบริษัทออกจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปได้
ประชาชนผู้ซื้อหุ้นจึงเป็นเจ้าของกิจการนั้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่ และหุ้นนี้อาจขายให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นในแต่ละวัน
ผู้ที่ดำเนินการขายและซื้อหุ้นของบริษัทจำกัด (มหาชน) คือ ตลาดหลักทรัพย์
โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Public Limited Company แล้วย่อได้เป็น
Plc หรือ PLC (Public Limited Company) เพื่อแสดงว่าเป็นบริษัทจำกัด
ประเภทมหาชน
การจดทะเบียนบริษัทและห้างหุ้นส่วน
ปัจจุบันได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใหม่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนบริษัททำให้การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด
และจดทะเบียนบริษัท จำกัดมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนและวิธีการพอสมควร เช่น
การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด
เปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท เปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น เปลี่ยนแปลงที่อยู่บริษัท เป็นต้น
ซึ่งขั้นตอนและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงนั้นมีทั้ง จำนวนบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วน
กำหนดระยะเวลาบอกกล่าวการประชุม และที่สำคัญเรื่องการประกาศหนังสือพิมพ์ที่มีการกำหนดระยะ
เวลาและรายการที่ต้องประกาศไว้แตกต่างจากเดิม
โดยขั้นแรกจะกล่าวถึงการจัดตั้งบริษัทจำกัดก่อน ดังนี้
การจดทะเบียนบริษัทจำกัด
บุคคล ใดๆ
ที่ประสงค์จะจัดตั้งบริษัทเป็นของตนเอง
จำต้องรู้โครงสร้างเบื้องต้นเกี่ยวกับบริษัทจำกัดก่อน เพื่อนำมาเป็นข้อมูล จัดเตรียมจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
ซึ่งโครงสร้างของบริษัทจำกัด มีดังต่อไปนี้
โครงสร้างของบริษัทจำกัด
ต้องมีผู้ร่วมลงลงทุนอย่างน้อย
7 คน โดยตาม ป.พ.พ. ที่แก้ไขใหม่ มาตรา1097 บัญญัติว่า บุคคลใดๆ
ตั้งแต่สามคนขึ้นไป จะเริ่มก่อการตั้งบริษัทจำกัดก็ได้...ซึ่งหมายความว่า บริษัทจำกัดต้องมีผู้ร่วมลงทุน
อย่างน้อย 3 คน ซึ่งแตกต่างจากเดิมซึ่ง กฎหมายบัญญัติไว้ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป
โดยการแก้ไขกฎหมายใหม่นี้ทำให้มีการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ได้ง่ายขึ้น
เพราะต้องหา ผู้ร่วมลงทุนน้อยลงมีการแบ่งทุนออกเป็นหุ้น
และมีมูลค่าหุ้นเท่าๆกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1096 มูลค่าหุ้นต้องไม่ต่ำกว่า
5 บาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1117 ความรับผิดของผู้ถือหุ้นมีจำกัด
กล่าวคือ จะมีเฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบเท่านั้น
(การชำระค่าหุ้น)ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1096ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทมหาชนจำกัด ถูกกำหนดขึ้นโดยพระราชบัญญัติ
บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 โดยมีข้อกำหนดให้บริษัทซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว
สามารถนำหุ้นจำนวนหนึ่งของบริษัทออกจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปได้ และประชาชนผู้ซื้อหุ้นจึงเป็นเจ้าของกิจการนั้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่.
และหุ้นนี้อาจขายให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นในแต่ละวันผู้ที่ดำเนินการขายและซื้อหุ้นของบริษัทจำกัด
(มหาชน) คือ ตลาดหลักทรัพย์
กฎและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการขายหุ้นต่อประชาชนจะถูกกำหนดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ.2535 โดยมีคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์คอยกำกับดูแล
โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Public
Limited Company แล้วย่อได้เป็น Plc หรือ PLC (Public
Limited Company) เพื่อแสดงว่าเป็นบริษัทจำกัด
ประเภทมหาชน แตกต่างไปจากบริษัทประเภทprivate หรืออาจย่อว่า Pcl
หรือ PCL (Private Company Limited)ซึ่งแต่เดิมนั้น
บริษัทมหาชนถูกกำหนดให้ต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 100 คน
และต้องมีผู้ถือหุ้นรายย่อยถือหุ้นอย่างน้อย 50% ของทุนจดทะเบียน
แต่หลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้ว เงื่อนไขของการมีผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป
และกำหนดให้บริษัทมหาชนจำกัดจะมีผู้ถือหุ้นกี่คนก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 15
คน เท่านั้น
ส่วนสาระสำคัญของการเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
พ.ศ. 2535
1. บริษัท
มหาชน จำกัด ต้องแบ่งทุนออกเป็นหุ้น ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญของการเป็นบริษัท
ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชนหรือบริษัทมหาชน ที่จะแบ่งทุนของบริษัทออกเป็นหน่วยเท่าๆ
กัน
2.
ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัด หากกิจการล้มละลาย หรือต้องปิดกิจการไป
ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบแค่สูญเสีย “เงินลงทุน” เท่านั้น
3.
บริษัทมีความประสงค์จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
4.
บริษัทต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเสมอ
เงื่อนไขการตั้งบริษัทมหาชน
1.
มีผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 15 คน
2.
มีกรรมการบริษัทขั้นต่ำ 5 คน
3.
ไม่ได้จำกัดทุนจดทะเบียนว่าจะเป็น 1.0 ล้านบาท หรือ 10 ล้านบาท หรือ 100 ล้านบาท
ฯลฯ ก็เป็นบริษัทมหาชนได้ทั้งนั้น
4.
บริษัทจำกัดในประเทศไทยสามารถที่จะแปรสภาพบริษัทของตัวเองให้เป็นบริษัทมหาชนได้ด้วยมติพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย
5. บริษัทมหาชน
สามารถจะออกขายหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ หุ้นกู้
ฯลฯให้กับนักลงทุนได้
6.
การขายหุ้นจะอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก
บริษัทมหาชนจำกัด[แก้]
-โครงสร้างของบริษัทมหาชน ถือหุ้นหรือก็คือเจ้าของ
แต่จะไม่ได้มีสิทธิในการเข้าไปดูแลงานของบริษัทโดยตรง
แต่จะเลือกกลุ่มคนที่จะเข้าไปบริหารแทนหรือ " Board
of Directors" หรือ "คณะกรรมการผู้บริหาร"
ผ่านทางการประชุมที่เรียกว่า "การประชุมผู้ถือหุ้น" จากนั้น Board of Directors ก็จะมีการจัดประชุมที่เรียกว่าการ
"ประชุมบอร์ดผู้บริหาร" หรือเรียกันสั้นๆว่าประชุมบอร์ด
และเลือกตัวแทนที่เรียกว่า Representative
director หรือที่ภาษาชาวบ้านอย่างเราๆ เรียกกันว่า CEO หรือ MD ที่มาทำหน้าที่บริหารงานและดูแลพนักงาน
-บริษัทมหาชนไม่ได้มีการกำหนดจำนวนกรรมการ
แต่กรรมการต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท กฎหมายยังกำหนดว่าต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า
5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งจะต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
-บริษัทมหาชน เป็นนิติบุคคลที่ระดมทุนเพื่อนำเงินเหล่านั้นไปลงทุน
โดยผ่านการเห็นชอบของที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยที่บริษัททำการออกหุ้น
สิทธิในการเป็นเจ้าของบริษัทคือผู้ถือหุ้น
และบริษัทรวบรวมเงินเหล่านี้ไปใช้ในการขยายกิจการ เป็นสาเหตุให้เจ้าของธุรกิจต่างก็อยากเอาธุรกิจของตัวเองเข้าตลาดหุ้น
เพราะว่าทำให้ระดมทุนได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าการกู้เงินจากธนาคารทั่วไป
-บริษัทมหาชนเป็นรูปแบบหนึ่งของการระดมทุนจากประชาชนโดยการซื้อหุ้น
และจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในรูปของเงินปันผล
การเลิกบริษัทมหาชน
1. ศาลมีคำสั่งให้เลิก
บริษัทบริษัทมหาชนล้มละลาย
เมื่อผู้ถือหุ้นซึ่งมีหุ้นนับรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนหุ้นได้ร้องขอให้ศาลเลิกบริษัท
2.
ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติให้เลิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง
3.
ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทฝ่าฝืน
หรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับการประชุมจัดตั้งบริษัท
หรือการจัดทำรายงานการจัดตั้งบริษัท
4.
คณะกรรมการบริษัทไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระเงินค่าหุ้น
การโอนกรรมสิทธิทรัพย์สิน
5.
จำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนเหลือไม่ถึงสิบห้าคน
6.
กิจการของบริษัทดำเนินไปก็มีแต่จะขาดทุน และไม่มีหวังที่จะดำเนินกิจการให้ดีขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น